ความเป็นมา

อ้างอิงจาก (1) กลยุทธ์ ฟื้นวัด คืนธรรม นำเมือง / อรศรี งามวิทยาพงศ์และคณะ (2) การสังเคราะห์บทเรียนในเชิงหลักคิดและหลักปฏิบัติ :กรณีศึกษาเพื่อการขยายผลพัฒนากิจการพระพุทธศาสนา ในประเทศไทย / นพ.บัญชา พงษ์พานิชและคณะ

การพัฒนาความเป็นเมือง (urbanism) ได้ก่อให้เกิดความทุกข์ทั้ง 4 มิติ ได้แก่

– ทางกาย เช่น สภาพแวดล้อม โรคภัยไข้เจ็บ
– ทางใจ เช่น ความเครียด
– สังคม เช่น สังคมทอดทิ้งซึ่งกันและกัน
– จิตวิญญาณ เช่น ความรู้สึกเดียวดายท่ามกลางฝูงชน

ความเป็นเมือง ได้เปลี่ยนบทบาทความเป็นวัด ทำให้

– ทำลายปัจจัยการเรียนรู้ แก่นธรรม สู่การเรียนรู้เฉพาะเปลือก-กระพี้ เช่น ไปวัดน้อยลง ศึกษาแต่ประเพณี เป็นที่จอดรถ จัดงานศพ เป็นต้น

– ทำลายวัฒนธรรมพัฒนาจิตวิญญาณ สู่วัฒนธรรมบริโภคนิยม (วัตถุนิยม) เช่น ความสุขที่ต้องพึ่งพาสิ่งภายนอก หรือ สุขยาก ทุกข์ง่าย

เงื่อนไขที่จะเอื้อให้วัดทั่วไป ในเขตเมืองและกึ่งเมืองพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านจิตวิญญาณ

– ใช้กระบวนการทำงานเชิงรุก
– ปรับกระบวนการทำงาน โดยลดความสัมพันธ์แบบแนวดิ่ง เพิ่มการทำงานร่วมกันระหว่างพระ และ คฤหัสถ์
– การทำงานโดยใช้ข้อมูลและให้ความสำคัญกับการเก็บรวบรวมข้อมูลมาทำงาน
– จัดธรรมให้นำสมัย ที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต หลากหลายและต่อเนื่อง

ปัญหาที่จะแก้ไข

– ความไม่สะดวกในการทำงานร่วมกันระหว่าง พระและคฤหัสถ์
– ข้อจำกัดด้านการรวบรวมและการจัดการข้อมูล เพื่อใช้ในการทำงาน
– ข้อจำกัดด้านการจัดการกิจกรรมที่หลากหลาย และต่อเนื่อง

วิธีการแก้ไข

สนับสนุนซอฟแวร์ที่หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ร่วมพัฒนาและใช้งานได้จริง กับกลุ่มเป้าหมายตามความเหมาะสมและความต้องการ

เป้าหมายเชิงผลกระทบ

เพิ่มประสิทธิภาพกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในแง่การทำงานร่วมกัน การรวบรวมและการจัดการข้อมูล และ การจัดการกิจกรรมที่หลากหลายและต่อเนื่อง อันเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับฟื้นวัด ให้พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านจิตวิญญาณ

กลุ่มเป้าหมาย

หน่วยงานทางพระพุทธศาสนาในเขตเมืองและกึ่งเมือง ที่มีความพร้อมด้านบุคคลและทีมทำงาน